Mere Exposure Effect ภาวะแห่งความคุ้นชิน เกิดจากการ “ทำซ้ำ”
ทำไมเราถึงจำเพลงโฆษณาบางเพลงได้ ทั้งๆ ที่ก็ไม่ใช่เพลงที่อาจจะถูกจริต หรือเป็นเพลงที่ตั้งใจจะฟัง เราเพียงได้ยินเพลงจากแบรนด์เหล่านี้เพียงผ่านๆ หรือแม้กระทั่งฟังเฉพาะตอนที่เดินเข้าร้านด้วยซ้ำ แต่ทำไมเนื้อเพลงเหล่านั้นถึงติดใจเรานัก ถ้ามีใครจะให้เราลองร้องเพลงนั้น ทำไมเราจำเนื้อได้หมดเลย!?
Daniel Kahneman นักวิจัยและนักเขียนหนังสือชื่อดัง ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจไว้อย่างหนึ่งคือเรื่อง Mere Exposure Effect หรือเรียกได้ว่า เป็นภาวะแห่งความคุ้นชิน คุ้นเคย กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดจากการ “ทำซ้ำ”
การที่เราได้ยินได้ฟังหรือทำอะไรบางอย่างบ่อยๆ อาจจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม สามารถสร้างความรู้สึกคุ้นเคยได้และนำไปสู่ความอบอุ่น และปลอดภัยในหัวใจ ทำให้การเปิดใจ และการจดจำถูกทำงานขึ้นในตัวเรานั่นเอง
“Dr. Bradley Vines นักประสาทวิทยา กล่าวว่า Pop Music หรือดนตรีที่มีจังหวะสนุก ฟังสบาย จะช่วยเพิ่มความสนใจ อารมณ์และความจำได้ถึง 20% จึงไม่แปลกใจที่หลายแบรนด์ประสบความสำเร็จไปกับเสียงเพลงจากโฆษณามากมาย ไม่ว่าจะแลคตาซอย 5 บาทที่ติดหูเราจนถึงทุกวันนี้ หรือกินอะไร กินอะไร กินอะไรไปกิน MK ก็นับว่าจุดกระแสในช่วงนึงให้เราร้องตามกันได้ทุกคน”
(ขอบคุณข้อมูลจาก Creative Talk)
ทฤษฎีนี้ทำให้แบรนด์ดังมากมายเลือกใช้ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างยอดขาย กระตุ้นความต้องการ หรือกระทั่งความรู้สึกดีๆ ที่ลูกค้ามีให้กับแบรนด์ เรียกได้ว่าดนตรีคือองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเปลี่ยนสมองและความรู้สึกของมนุษย์เราได้จริงๆ นั่นเองค่ะ
สนใจเรียนดนตรีกับ Thai Pianist สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ 094-4539422 หรือ 089-6792835
หรือแอดเป็นเพื่อนกับเราได้ที่ Line: @thaipianist