บทเพลง

brain development through music

เมื่อสมองถูกพัฒนาผ่านบทเรียนดนตรี

เมื่อสมองถูกพัฒนาผ่านบทเรียนดนตรี By  Thai Pianist,  25 November 2023 การเล่นดนตรี ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งของสมอง รู้หรือไม่? การเล่นดนตรีช่วยให้สมองเกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างตลอดเวลา นอกจากจะช่วยให้เราได้รับความสุนทรีย์แล้ว ยังช่วยเสริมพัฒนาการมากกว่าที่เราคิด! การเล่นดนตรี ถือว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และการพัฒนาสมองเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย ดนตรีเป็นสิ่งที่จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งของการเชื่อมต่อวงจรประสาทในสมองอย่างหนึ่งอีกด้วย โดยการพัฒนาที่เกิดขึ้นในแต่ละส่วนของสมองนั้น เชื่อมโยงกับการฝึกเล่นดนตรีดังนี้ การอ่านโน้ตเพลงและตีความตัวโน้ตอาศัยการทำงานของสมองส่วนท้ายทอย (occipital lobe) การฟังและวิเคราะห์เสียงอาศัยการทำงานของสมองส่วนขมับ (temporal lobe) การเคลื่อนไหวนิ้วมือและวางแผนการเคลื่อนไหวอาศัยการทำงานของสมองส่วนหน้า (frontal lobe) การรวบรวมข้อมูลประสาทสัมผัสทั้งหมดที่เข้ามาอาศัยการทำงานของสมองส่วนกลีบข้างกระหม่อม (parietal lobe) การวางแผนการเคลื่อนไหวและเรียนรู้การเคลื่อนไหวอาศัยการทำงานของสมองส่วนเบซัล แกงเกลีย (basal ganglia) ทำให้เราสามารถเคลื่อนไหวมือได้อย่างอัตโนมัติ การเคลื่อนไหวมือทั้ง 2 ข้างให้ประสานสัมพันธ์กันและเรียนรู้การเคลื่อนไหว อาศัยการทำงานของสมองส่วนซีรีเบลลัม (cerebellum) จากข้อมูลดังกล่าวนี้จึงสามารถบอกได้ว่า การเล่นดนตรีส่งผลให้ให้สมองเกิด neuroplasticity ในทุกส่วนจริงๆ ค่ะ (ขอบคุณข้อมูลจาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล) สนใจเรียนดนตรีกับ Thai Pianist สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ 094-4539422 …

เมื่อสมองถูกพัฒนาผ่านบทเรียนดนตรี Read More »

เสียงและดนตรี สำหรับภาพยนตร์ soundtrack

องค์ประกอบของเสียงและดนตรีกับการสร้างภาพยนตร์

องค์ประกอบของเสียงและดนตรีกับการสร้างภาพยนตร์ By  Thai Pianist, 14 May 2023 มหัศจรรย์แห่งเสียงดนตรี เสียงดนตรีถือเป็นองค์ประกอบที่มีบทบาทสำคัญมากสำหรับการสร้างภาพยนตร์ เป็นส่วนที่ช่วยเสริมสร้างบรรยากาศ ความรู้สึก และเพิ่มความพิเศษให้กับประสบการณ์ในการชมภาพยนตร์เป็นอย่างมาก มาดูกันว่าเสียงในภาพยนตร์ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง 1) เพลงประกอบ (Soundtrack) เพลงประกอบเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเนรมิตบรรยากาศในภาพยนตร์ สามารถเพิ่มอรรถรส อารมณ์ร่วม สร้างความตื่นเต้นในฉากต่างๆ และสร้างความทรงจำให้กับผู้ชม 2) เสียงพื้นหลัง (Ambient Sounds) เป็นเสียงบรรยากาศของสภาพแวดล้อมในฉาก เช่น เสียงลมพัด เสียงคลื่นทะเล หรือเสียงสัตว์ เสียงพื้นหลังช่วยสร้างบรรยากาศและความเชื่อถือได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) เสียงเอฟเฟกต์ (Sound Effects) เสียงเอฟเฟกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างฉากหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์ เช่น เสียงระเบิด เสียงยิง หรือเสียงที่เกี่ยวข้องกับการกระทำของตัวละคร ช่วยให้ภาพยนตร์ดูสมจริงและมีความตื่นตาตื่นใจไปกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 4) เสียงประกอบ (Foley) เป็นการบันทึกเสียงที่สร้างขึ้นใหม่ที่เลียนแบบเสียงจริง เพื่อเนรมิตเสียงที่เกิดขึ้นในฉาก เช่น เสียงเปิดประตู เสียงการหยิบจับสิ่งของ เสียงเท้าเดิน เสียงเคลื่อนไหวของตัวละคร เสียง Foley จะช่วยให้ภาพยนตร์ดูมีความเสมือนจริงมากยิ่งขึ้น 5) …

องค์ประกอบของเสียงและดนตรีกับการสร้างภาพยนตร์ Read More »