ศาสตร์แห่งดนตรี อีกหนึ่งแห่งสุนทรียะจากเสียงเพลง
เมื่อพูดถึงดนตรีแล้ว เรามักจะนึกถึงเพลง การฟังเสียงที่ทำให้รู้สึกสุนทรีย์ นำมาซึ่งอารมณ์ ความรู้สึกที่หลากหลาย รวมถึงเป็นหนึ่งในวิชาเรียนที่สามารถประกอบอาชีพได้ด้วย
แต่ผู้คนมักแยกดนตรี ออกจากศิลปะ เพราะมีผลลัพธ์ที่ต่างกันไปคนละทาง เช่น ดนตรี ผลิตเสียงเพลง ส่วนศิลปะ ผลิตรูปวาดหรือประติมากรรมนั่นเอง
แต่เมื่อมองย้อนลึกถึงความหมายและที่มาของแต่ละศาสตร์นั้น ก็พบความเหมือนที่ทำให้อาจกล่าวได้ว่า แท้จริงแล้ว ดนตรีก็เป็นหนึ่งในศิลปะแขนงหนึ่งเช่นกัน นั่นคือ
- สามารถเล่าเรื่องราวได้เหมือนกัน
ทั้งดนตรี และศิลปะ มักมีจุดมุ่งหมายในการเล่าเรื่องราวบางอย่างลงในผลงานชิ้นนั้น ไม่ว่าจะมาในรูปแบบเสียง คำพูด หรือภาพและสีก็ตาม - ได้รับอิทธิพลตามยุคสมัย
ทั้งคู่นั้นมักจะมีแนวทางที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ผู้คน และวัฒนธรรม เสมอ ตามที่ได้เห็นในบทเรียนของทั้งประวัติศาสตร์ศิลป์ และประวัติศาสตร์ยุคสมัยทางดนตรีนั่นเอง - นำไปใช้สื่อสารเกี่ยวกับความรักและศาสนา
ทั้งดนตรีและศิลปะ มักได้แรงบันดาลใจจากเรื่องความรัก และศาสนา ทั้งเพลงในโบสถ์ เพลงที่กล่าวถึงความรัก ภาพวาดตามผนังวัด หรือภาพวาดที่สื่อถึงความเจ็บปวดของศิลปินก็ดี
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายจุดร่วมระหว่างศิลปะและดนตรี จนพาไปสู่คำถามที่ว่า แท้จริงแล้วนั้น ดนตรี เป็นหนึ่งในศิลปะแขนงหนึ่งหรือไม่ ซึ่งหลายสำนักข่าวก็ออกมาบอกว่าขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้รับชมรับฟัง ว่าจะตีความอย่างไร เพราะไม่มีอะไรที่ตายตัว ชัดเจน แต่ที่รู้คือทั้งสองศาสตร์นั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์ขาดไม่ได้ และนำพามาซึ่งความสุขนั่นเอง
สนใจเรียนดนตรีกับ Thai Pianist สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ 094-4539422 หรือ 089-6792835
หรือแอดเป็นเพื่อนกับเราได้ที่ Line: @thaipianist