ทฤษฎีดนตรีหรือเพลงที่ใช้ในโฆษณา

By  Thai Pianist,  19 November 2023

music for advertising

Mere Exposure Effect ภาวะแห่งความคุ้นชิน เกิดจากการ “ทำซ้ำ”

ทำไมเราถึงจำเพลงโฆษณาบางเพลงได้ ทั้งๆ ที่ก็ไม่ใช่เพลงที่อาจจะถูกจริต หรือเป็นเพลงที่ตั้งใจจะฟัง เราเพียงได้ยินเพลงจากแบรนด์เหล่านี้เพียงผ่านๆ หรือแม้กระทั่งฟังเฉพาะตอนที่เดินเข้าร้านด้วยซ้ำ แต่ทำไมเนื้อเพลงเหล่านั้นถึงติดใจเรานัก ถ้ามีใครจะให้เราลองร้องเพลงนั้น ทำไมเราจำเนื้อได้หมดเลย!?

Daniel Kahneman นักวิจัยและนักเขียนหนังสือชื่อดัง ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจไว้อย่างหนึ่งคือเรื่อง Mere Exposure Effect หรือเรียกได้ว่า เป็นภาวะแห่งความคุ้นชิน คุ้นเคย กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดจากการ “ทำซ้ำ”

การที่เราได้ยินได้ฟังหรือทำอะไรบางอย่างบ่อยๆ อาจจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม สามารถสร้างความรู้สึกคุ้นเคยได้และนำไปสู่ความอบอุ่น และปลอดภัยในหัวใจ ทำให้การเปิดใจ และการจดจำถูกทำงานขึ้นในตัวเรานั่นเอง

“Dr. Bradley Vines นักประสาทวิทยา กล่าวว่า Pop Music หรือดนตรีที่มีจังหวะสนุก ฟังสบาย จะช่วยเพิ่มความสนใจ อารมณ์และความจำได้ถึง 20% จึงไม่แปลกใจที่หลายแบรนด์ประสบความสำเร็จไปกับเสียงเพลงจากโฆษณามากมาย ไม่ว่าจะแลคตาซอย 5 บาทที่ติดหูเราจนถึงทุกวันนี้ หรือกินอะไร กินอะไร กินอะไรไปกิน MK ก็นับว่าจุดกระแสในช่วงนึงให้เราร้องตามกันได้ทุกคน”
(ขอบคุณข้อมูลจาก Creative Talk)

ทฤษฎีนี้ทำให้แบรนด์ดังมากมายเลือกใช้ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างยอดขาย กระตุ้นความต้องการ หรือกระทั่งความรู้สึกดีๆ ที่ลูกค้ามีให้กับแบรนด์ เรียกได้ว่าดนตรีคือองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเปลี่ยนสมองและความรู้สึกของมนุษย์เราได้จริงๆ นั่นเองค่ะ

สนใจเรียนดนตรีกับ Thai Pianist สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ 094-4539422 หรือ 089-6792835
หรือแอดเป็นเพื่อนกับเราได้ที่ Line: @thaipianist

สอบถามข้อมูล